top of page
Writer's picturePaweenawat Suwannsri

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)


ในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ค่ามวลกระดูกในร่างกายค่อย ๆ ลดลง (Bone mass density) จนกระทั่งอายุเฉลี่ย 65 ปี ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักจะเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนแล้ว ดังนั้นการป้องกันภาวะกระดูกพรุน เราควรจะทานอาหารที่มี แคลเซียม วิตามิน ดี ตั้งแต่วัยรุ่นครับ

ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคที่ได้รับยาเสตียรอยด์ ประจำเดือนหมดเร็วผิดปกติ สูบหุหรี่ หรือมีประวัติพ่อแม่มีภาวะกระดูกสะโพกหัก คนในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนสูงครับ


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีภาวะกระดูกพรุนแล้ว คำตอบคือคนส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ก็มีภาวะกระดูกพรุนได้ หรือบางคนอาจมีการปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อก็ได้ ดังนั้นเมื่อมีความเสี่ยง หมอแนะนำให้ไปตรวจมวลกระดูก (DEXA scan) ที่กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพกว่าค่ามวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ กระดูกบาง หรือกระดูกพรุนแล้ว


เมื่อผลตรวจว่าภาวะเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยารักษาเพื่อเพิ่มมวลกระดูกให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก ปัจจุบันมียารักษาโรคกระดูกพรุนหลายชนิด ทั้งในรูปยากิน และยาฉีด ซึ่งสามารถเพิ่มมวลกระดูกและลดการเกิดกระดุกหักได้อย่างมีประสิทธิภาพ


22 views0 comments

Recent Posts

See All

Opmerkingen


bottom of page